1. SistaCafe
  2. " Privacy " คืออะไร แล้วอะไรที่ควร " เป็นส่วนตัว " ในยุคสาธารณะนี้
ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F94232%2Fd4b24047-dfdb-405a-99b6-46b6b29543bc?v=20240313162915&ratio=1.000

ทำอันนั้นก็โดนด่าว่าก้าวก่ายความเป็นส่วนตัว อะไรคือความเป็นส่วนตัวนะ ?ช่วงที่ผ่านมาหลาย ๆ คนน่าจะได้ยินคำว่า" Privacy ( ไพรเวซี่ ) "หรือ" ความเป็นส่วนตัว "กันบ่อย ๆ ใช่ไหมคะ บางคนก็อาจจะเกิดคำถามว่าอะไรมันคือ Privacy แล้วมันดียังไง มันมีกระแสจากไหนบ้าง บทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจในเรื่อง Privacy ให้มากขึ้นกันจ้า แต่ก่อนอื่นเลยต้องขอบอกก่อนะคะว่าเราจะขอพูดหลัก ๆ 2 แบบคือหนึ่งข้อมูลส่วนตัว และสองการรุกล้ำความเป็นส่วนตัวทั้ง 2 หัวข้อนี้มันจะคล้าย ๆ และเกี่ยวโยงกันอยู่ แต่อ่านแล้วไม่งงแน่นอนนะคะ ว่าแต่ทุกคนพร้อมจะทำความเข้าใจกันรึยังเอ่ย? ถ้าพร้อมแล้วก็มาอ่านกันเลยค่า :-D



คำว่า Privacy คืออะไร? ยุคนี้มีอะไรที่ต้องทำให้เป็นส่วนตัวบ้าง?


Privacy ( ไพรเวซี ) คืออะไรกันนะ ?

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F94232%2F5038f877-0ba3-45c3-8313-91cc678300e9.jpeg?v=20240313162916&ratio=1.000

Privacy ( ไพรเวซี่ ) แปลตรงตัวว่า " ความเป็นส่วนตัว "นั่นเองค่ะ ซึ่งความเป็นส่วนตัวของเราเริ่มตั้งแต่ชื่อเล่น ชื่อจริง น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ ไปจนถึงเลขบัตรต่าง ๆ รหัสผ่าน บัญชีโซเชียลมีเดีย การถ่ายภาพ/วีดิโอติดใบหน้าและรูปร่างเลยล่ะค่ะ ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการออกกฎหมายPersonal Data Protection Act ( PDPA ) หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฏหมายที่ออกมาคุ้มครองสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลอะไรที่เราไม่ยินยอมให้เปิดเผย ไม่ยินยอมให้ใช้แล้วอีกฝ่ายเอาไปใช้ก็ถือเป็นการละเมิดได้นั่นเองค่ะ แต่นอกเหนือจากนั้นก็ยังมี


แล้วกฎหมาย PDPA ครอบคลุมอะไรบ้างล่ะ ?

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F94232%2F7d70bb98-cb5d-438e-9e81-5d2108649f9c.jpeg?v=20240313162916&ratio=1.000

แล้ว Personal Data Protection Act ( PDPA  ) หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562ครอบคลุมอะไรบ้าง


• ชื่อ - นามสกุล


• เลขบัตรประชาชน


• ที่อยู่


• เบอร์โทรศัพท์


• อีเมล• เชื้อชาติ• ศาสนา / ปรัชญา• ข้อมูลทางการเงิน• ข้อมูลสุขภาพ• ประวัติอาชญากรรม• พฤติกรรมทางเพศ


ทำไมช่วงนี้ถึงมีกระแส Privacy กันเยอะขึ้นจังเลย เกิดขึ้นจากอะไรกัน?

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F94232%2F69be8b5c-247f-427f-88a9-2e58948abede.jpeg?v=20240313162916&ratio=1.000

กระแส Privacyจริง ๆ มันก็มีมาสักพักใหญ่ ๆ มากแล้วนะคะ แต่ที่เริ่มมีกระแสแรก ๆ เลยก็น่าจะเป็นการรุกล้ำความเป็นส่วนตัวกับชีวิตคนดังนี่แหละค่ะ หรือที่หลาย ๆ คนเรียกติดปากกันว่า " ซาแซง " ที่มาจากคำว่าซาแซงฮวาล ( แปลว่าความเป็นส่วนตัว + แฟนคลับ )เริ่มแรก ๆ ก็คือแฟนคลับเกาหลีเขาใช้เรียกกลุ่มคนที่ไปรุกล้ำความเป็นส่วนตัวดารานักร้องมากเกินไปนะคะหลังจากนั้นคนก็เริ่มตระหนักปัญหาความเป็นส่วนตัวกันมากขึ้น ขยายไปที่การถ่ายภาพติดคนอื่น ๆ ที่เขาไม่ยินยอม การเอาข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นมาเปิดเผยในที่สาธารณะ หรือการถ่ายภาพ/วีดิโอเด็ก เป็นต้น และในปัจจุบันที่คนบ่นกันเยอะมาก ๆ ก็คือการที่ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลไปอยู่ในมือแฮกเกอร์และมิจฉาชีพนั่นเองค่ะ


ยุคนี้มีอะไรบ้างที่ควรคำนึงถึง Privacy ?

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F94232%2F42d53954-3e8d-40ab-b0d3-db3595332d0a.jpeg?v=20240313162916&ratio=1.000

ถ้าให้สรุปจริง ๆ มันมีหลายเรื่องมาก ๆ เลยค่ะที่เป็น Privacy หรือความเป็นส่วนตัว โดยเราขอสรุปเป็นหัวข้อหลัก ๆ ประมาณ 5 หัวข้อตามนี้เลยจ้า1. ข้อมูลส่วนตัว: ชื่อนามสกุล ชื่อเล่น เลขบัตรประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขบัตรประกันสังคม เลขใบขับขี่ วันเดือนปีเกิด เลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเครดิต รหัสผ่านต่าง ๆ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ แอคเคานต์โซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Twitter, Instagram ฯลฯ2. การถ่ายภาพและวีดิโอติดหน้าของผู้อื่น: ถ้าเราไม่ได้รับการยินยอมให้ถ่ายภาพหรือถ่ายวีดิโอแล้วมีคนถ่ายติดไป เราสามารถแจ้งเขาไปก่อนได้หรือถ้าเขาเอาภาพเราไปใช้ในการสร้างรายได้แบบนั้นก็สามารถฟ้องร้องได้ อันนี้รวมไปถึงเขาเอาภาพเราไปใช้โดยไม่ขอแล้วเอาไปทำเรื่องเสียหายด้วยนะคะ

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F94232%2Fc51b3f60-51a0-4844-a036-cf088514b8a9.jpeg?v=20240313162917&ratio=1.000

3. การถ่ายภาพและวีดิโอของเด็ก: ขอพูดแยกจากข้อข้างบนนะคะ เดี๋ยวนี้เราเห็นคนถ่ายภาพลูก ๆ หลาน ๆ ลงโซเชียลบ่อย ๆ ใช่ไหมคะ จริง ๆ เรื่องนี้มันไม่ได้ผิดกฎหมายอะไรแต่ว่าการไม่ถ่ายภาพหรือไม่อัดวีดิโอจะเป็นการปกป้องเด็กได้ทางนึงค่ะ เนื่องจากว่าเด็ก ๆ ยังไม่รู้ว่ามันดีไหม มันโอเครึเปล่า เขาอาจจะโอเคตอนที่ถ่ายจริงแต่โตมาถ้าเขาไม่โอเคแล้วอยากจะลบทิ้ง ตอนนั้นมันก็อาจจะไม่ทันแล้วก็ได้นะคะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะลงไม่ได้เลย คือก็ลงได้แต่ไม่ควรตามถ่ายทั้งวัน หรือลงบ่อยเกินไป เพราะอาจจะมีคนร้ายที่เขาติดตามแล้วจะมาทำร้ายเด็กได้ด้วยค่ะ



4. การให้ความเป็นส่วนตัวกับคนดัง: ดารา นักร้องและคนดังที่มีคนชื่นชอบเยอะ ๆ มักจะโดนแฟนคลับตามติดเกินไปจนเขาไม่มีช่องว่างในการได้ใช้ชีวิตเลย บางคนตามไปถึงบ้าน บางคนตามไปทุกที่แม้กระทั่งเขาไปเที่ยวก็ตามติด แบบนี้ก็เรียกว่าเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวเช่นกันค่ะ




5. การถามคำถามละลาบละล้วง: บ่อยครั้งที่เราเจอเพื่อนหรือญาติ ๆ ที่ชอบถามคำถามลึก ๆ แบบได้เงินเดือนเท่าไหร่ น้ำหนักเท่าไหร่ ส่วนสูงเท่าไหร่ ข้อมูลพวกนี้ก็นับว่าเป็นข้อมูลส่วนตัวได้เช่นกันค่ะ ถ้าใครไม่อยากตอบก็สามารถเลี่ยงไม่ตอบได้นะคะ แล้วก็อย่าเอาไปถามใครเข้าล่ะ!



ขอบเขตของคำว่า Privacy คืออะไร? แบบไหนถึงจะมั่นใจว่ามันพอดี?

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F94232%2F8ed59ab9-1000-4f15-b859-088be9213433.jpeg?v=20240313162917&ratio=1.000

ถ้าพูดกันจริง ๆ แล้วมันเป็นสิ่งที่กำหนดขอบเขตได้ยากพอสมควรเลยค่ะ เพราะบางเรื่องที่เรามองว่ามันไม่ได้ส่วนตัว บางคนก็อาจจะมองว่ามันส่วนตัว แต่เรื่องพื้นฐานแบบ 5 ข้อด้านบนที่เราสรุปมาให้ มันก็เป็นเรื่องทั่วไปที่เราควรจะปฏิบัติและไม่ให้ข้อมูลพวกนั้นกับใครไปง่าย ๆ นะคะ โดยเฉพาะข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ นี่ยิ่งให้ใครไปมั่ว ๆ ไม่ได้เลย แล้วยิ่งในปัจจุบันมีมิจฉาชีพโทรศัพท์มาหลอกลวงอีก ก็อยากให้ทุกคนระมัดระวังตัวด้วยนะคะ ถ้ารู้สึกไม่มั่นใจอย่าให้ข้อมูลส่วนตัวไปเด็ดขาด หรือกดวางสายแล้วโทรถามทางบริษัทที่เขาอ้างถึง เช่น เขาบอกว่าโทรมาจากธนาคารคานทอง ถ้าเราไม่มั่นใจก็โทรหาเบอร์คอลเซ็นเตอร์ธนาคารเลย หรือจะไปถามที่ธนาคารเลยก็ได้นะคะ


Privacy มีข้อดีและข้อเสียยังไงบ้าง?

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F94232%2F11eff3b4-91be-4ecb-8d11-d83982efeafb.jpeg?v=20240313162917&ratio=1.000

แล้วแบบนี้การมี Privacyมันมีข้อดี - ข้อเสียยังไงบ้าง? ถ้าให้พูดกันตามจริงมันเป็นข้อดีซะเยอะมาก ๆ เลยค่ะ มันช่วยปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเราไม่ให้รั่วไหล ทำให้คนอื่นเคารพความเป็นส่วนตัว ไม่มีการถามละลาบละล้วงเกินไป เอาผิดคนที่รุกล้ำความเป็นส่วนตัวหรือข้อมูลสวนตัว เป็นการให้เกียรติและให้พื้นที่กับคนดัง เป็นการปกป้องสิทธิ์ของเด็กและไม่ใช้แรงงานเด็กด้วยส่วนข้อเสียนี่ส่วนใหญ่จะไปตกที่เจ้าของธุรกิจต่าง ๆที่อาจจะเคยใช้ข้อมูลส่วนตัวบางอย่างหรือการดักฟังในโซเชียลต่าง ๆ ยกตัวอย่างง่าย ๆ เวลาเราคุยกับเพื่อนว่าอยากซื้อลิปสติก เข้าไปเล่นโซเชียลไถ ๆ จอปุ๊บเจอโฆษณาลิปสติกปั๊บ อะไรแบบนี้นะคะ มันอาจจะกระทบหน่อยแต่มันก็มีวิธีเข้าหาลูกค้าด้วยวิธีอื่น ๆ อีกมากมาย หรืออาจจะเป็นการขออนุญาตใช้ข้อมูลก่อนแบบนี้ก็ทำได้เช่นกันค่ะ



สรุป

ยังไงก็ตามนะคะความเป็นส่วนตัวมันประกอบไปด้วยหลายส่วน ไม่ว่าจะข้อมูลส่วนตัว การละเมิดความเป็นส่วนตัวอื่น ๆ เช่น การใช้ชีวิต ครอบครัว คนรัก หน้าตา รูปร่าง ความชอบ ฯลฯ พวกนี้ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ควรไปละเมิดเลยถ้าหากเขาไม่อยากให้เรารับรู้ เราต้องมีขอบเขตกันด้วยนะคะโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับข้อมูลส่วนตัวที่ พ.ร.บ. PDPA ครอบคลุม อันนั้นยิ่งไม่ควรไปบอกใครหรือไม่ควรให้ใครรับรู้เลยนะคะ ยังไงก็อยากให้ทุกคนให้เกียรติกันและกันแล้วก็ไม่ไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นหรือไปละเมิด Privacy ของผู้อื่นด้วยน้า ทางเราต้องขอตัวลาไปก่อนแล้วค่า แล้วกลับมาพบกันใหม่ในบทความหน้านะค้า บ๊ายบาย

บทความแนะนำสำหรับชาวซิส

Designer :namoodong

Writer :pumxpurin


เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้