1. SistaCafe
  2. Adrenal Fatigue รู้จักภาวะต่อมหมวกไตล้า อ่อนเพลียสะสมต้องเช็ก!

" รีบสังเกตก่อนจะเป็นอันตราย " บอกเลยว่าปัจจุบันปัจจัยหลายๆ อย่างสามารถส่งผลต่อร่างกายของเราได้ง่ายๆ โดยเฉพาะปัญหาจากความเครียดที่เกิดขึ้นได้กับตัวของเรา ซึ่งความเครียดนั้นเป็นสิ่งที่สามารถถูกกระตุ้นด้วยสภาพแวดล้อมที่เรากำลังเผชิญไม่ว่าจะเรื่องการเรียน การทำงาน รวมไปถึงปัญหาของเรื่องชีวิต สิ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ใครหลายๆ ต้องเผชิญ และเกิดเป็นโรคร้ายโดยไม่รู้ตัว ลองสังเกตง่ายๆ จากพฤติกรรมหรือการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของเรา จะเห็นได้ว่าเมื่อก่อนกิจกรรมที่เราทำสามารถส่งผลให้น้ำหนักลดลงได้ แต่ปัจจุบันแค่กินนิดหน่อยก็อ้วน หรือออกกำลังกายเท่าไรก็ไม่ลง นอนเท่าไหร่ก็รู้สึกว่ายังไม่เพียงพอต่อการพักผ่อน ซึ่งอาการเบื้องต้นนี้ก็สามารถกลายเป็นสาเหตุที่ส่งต่อไปถึง ภาวะต่อมหมวกไตล้าได้ ดังนั้นแล้วเรามาทำความรู้จักกับ ' Adrenal Fatigue หรือ ภาวะต่อมหมวกไตล้า 'กัน


✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿


Adrenal Fatigue หรือภาวะต่อมหมวกไตล้า เป็นยังไง?

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F96636%2Fc19899f8-ff87-4767-943d-fe52bfab99a9?v=20240712034726

ภาวะต่อมหมวกไตล้า เป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่มีความเครียดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ โดยมักจะถูกมองข้ามไป จนกลายเป็นโรคร้ายที่อาจถูกลืม ซึ่งสามารถส่งผลให้การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้านั้นล้าช้าได้ โดยเหตุผลอีกส่วนหนึ่งนั้นอาจจะมาจากอาการที่แสดงให้เห็นก่อนจะเกิดโรค ที่ยังไม่มีโรคหรือสิ่งร้ายแรงอะไร จึงทำให้ใครหลายๆ คนไม่ได้เกิดความเข้าใจและไม่รู้จัก นั่นเอง แต่อาการที่สามารถแสดงให้เห็นถึงโรคนี้คือ สามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิตให้ลดลงได้ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรง ไม่มีแรง ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และสามารถเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เกิดขึ้นได้ การตรวจนั้นต้องมีการนำไปวินิจฉัยโดยการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับ


ต่อมหมวกไตล้า เกิดจากอะไร? มีอาการอะไรบ้าง?

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F96636%2F9607d40c-dfb7-455b-a5cd-058114fbfecf?v=20240712034750

เนื่องจากในร่างกาย หน้าที่ของต่อมหมวกไตคือเป็นอวัยวะที่ผลิตฮอร์โมน ที่มีหน้าที่ตรวจดูเพื่อช่วยขจัดและต่อสู้กับความเครียดเพื่อให้ร่างกายเกิดภาวะสมดุล แต่ถ้าร่างกายมีความเครียดอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นการออกกำลังกายเกินพอดี จนทำให้ต้องผลิตฮอร์โมนติซอลออกมาเพื่อจัดการความเครียด จนต้องส่งผลทำให้ร่างกายเสื่อมและแก่เร็ว ถ้าร่างกายมีการหลั่งคอร์ติซอลออกมาอย่างต่อเนื่องหรือมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าได้โดยนอกจากความเครียดทางจิตใจแล้ว ความเครียดทางร่างกายก็เกี่ยวด้วยที่อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าได้เช่นกัน ความเครียดทางร่างกายอาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การนอนดึก การไม่รับประทานอาหารเช้าเป็นประจำ การรับประทานของหวานหรือน้ำตาลมากเกินไป เป็นต้น

มาเช็กอาการที่เข้าข่ายมีโอกาสเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า

  1. ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า
  2. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากงีบหลับช่วงกลางวัน
  3. ง่วงแต่นอนไม่หลับ
  4. มีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เวลาเปลี่ยนท่าทาง (ลุก-นั่ง)
  5. อยากของหวาน หรือของเค็ม
  6. ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
  7. ปวดประจำเดือนบ่อย
  8. เป็นภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ
  9. ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  10. ท้องผูก
  11. เครียด ซึมเศร้า
  12. คุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำแต่น้ำหนักไม่ลง
  13. รู้สึกดีขึ้นทันทีเมื่อกินน้ำตาลเข้าไป
  14. ผิวแห้งและแพ้ง่าย

ฮอร์โมนสำคัญจากต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ ที่หุ้มอยู่บริเวณขั้วไตทั้งสองข้าง โดยเป็นอวัยวะอันหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น

  1. ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับความเครียด โดยปกติร่างกายจะมีการสร้างฮอร์โมนนี้ขึ้นมาในตอนเช้า เพื่อทำให้ร่างกายตื่นตัวพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระหว่างวัน โดยฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนแห่งความเครียดนี้ จะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
  2. ฮอร์โมนดีเฮชอีเอ (DHEA, Dehydroepiandosterone) ฮอร์โมนตั้งต้นที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นฮอร์โมนทั้งหญิงและชายต่อไป (Pre-sex hormones) เช่น เอสโตรเจน, โปรเจสเตอโรน และเทสโทสเตอโรน โดยมีหน้าที่กระตุ้นการสร้างกล้ามเนืิ้อ ลดไขมัน กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และทำให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉง มีพลังและ DHEA เป็นฮอร์โมนต้านความเครียด ช่วยเพิ่มความสดชื่น กระปรี้กระเปร่าให้กับร่างกายเรา ในการเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ทั้งมีการชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย และกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เป็นต้น
  3. ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (Aldosterone) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมสมดุลของแร่ธาตุโซเดียม และโปแตสเซียม ซึ่งช่วยในการควบคุมของเหลวในร่างกาย

ต่อมหมวกไตล้ารักษาด้วยตนเองได้ไหม?

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F96636%2F3b4c90e2-1eb0-46a7-b432-4c05a1320298?v=20240712030336

ภาวะต่อมหมวกไต และภาวะ burn out สามารถรักษาได้เช่นเดียวกัน ซึ่งวิธีรักษาสามารถทำได้เพียงเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

  1. เข้านอนก่อน 5 ทุ่ม และพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  2. รับประทานอาหารเช้า ก่อน 10.00 น. (Cortisol จะทำงานดีขึ้นเมื่อมีน้ำตาลในเลือดเพียงพอ แต่หลัง 10.00 น. ระดับ cortisol จะลดลงทำให้ยิ่งอ่อนเพลีย)
  3. รับประทานมื้อเล็กๆ และบ่อยๆ แทนการทานอาหารมื้อหลักๆ เพียง 1-2 มื้อ
  4. ออกกำลังกายไม่หนักจนเกินไป เพราะจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น
  5. เปลี่ยนสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น หางานอดิเรกทำ หรือจัดห้องให้น่าอยู่
  6. เดินทางไปเที่ยว หรือหาสถานที่พักผ่อน ลดความเครียด
  7. รับประทานอาหารเสริมที่ต่อมหมวกไตต้องการ
  8. หลีกเลี่ยงอาหารหวานและเค็ม

วิตามินที่ต่อมหมวกไตต้องการ

  • วิตามิน C ช่วยเสริมภูมิต้านทาน พบมากในผักและผลไม้สด
  • วิตามิน B3 ช่วยเผาผลาญพลังงาน ช่วยเรื่องระบบย่อยอาหารและผลิตฮอร์โมนทางเพศและสุขภาพผิวหนัง พบมากในตับ อะโวคาโด ปลา ถั่ว เห็ด และบล็อคโคลี เป็นต้น
  • วิตามิน B5 ช่วยเรื่องการทำงานของต่อมหมวกไต สร้างภูมิต้านทาน พบมากในเนื้อสัตว์ หัวใจ ธัญพืชไม่ขัดสี รำข้าว และผักสีเขียว
  • วิตามิน B6 ช่วยเรื่องระบบประสาทในสมอง ควบคุมและปรับสมดุลฮอร์โมน พบมากในไข่ไก่ ตับสัตว์ นม เนื้อปลา ถั่วต่างๆ และกะหล่ำปลี

การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้า

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F96636%2Fcba702ce-d281-40e8-94c6-7104f0cc15ec?v=20240712025646

การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้า เพื่อให้ฮอร์โมนกลับมาสู่สภาวะสมดุลนั้น อาจจะต้องใช้เวลามากถึง 2-3 เดือน หรือมากกว่านั้น เพราะต้องขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของผู้เข้ารักษาเป็นหลัก ซึ่งกรณีแบบนี้นั้นทำให้ในหลายคนไม่สามารถรักษาให้หายเองได้ เพราะไม่สามารถฝืนทนต่อพฤติกรรมที่เราเคยชิน พร้อมมาด้วยความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจด้วย จึงจำเป็นต้องเข้ารักษาหรือปรึกษากับแพทช์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ให้ร่างกายกลับไปสู่ภาวะต่อมหมวกไตล้าและภาวะ burn out ได้อีกครั้ง


✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿


Check list ภาวะ Adrenal Fatigue หรือต่อมหมวกไตล้า กันแล้วเป็นอย่างไรกับบ้างคะ มากกว่า 5 ข้อ หรือมี 5 ข้อเป๊ะๆ บอกเลยว่าเรานั้นมีมากกว่า 5 ข้อเลยทีเดียว ด้วยความที่เป็นพฤติกรรมที่ทำมาอย่างต่อเนื่องและอาจจะคิดว่าเราแค่พักผ่อนไม่เพียงพอเลยไม่ได้รู้สึกว่าเข้าข่ายภาวะต่อมหมวกไตล้าแล้ว แต่พอมาดูและสังเกตจริงๆ อาการที่เราเป็นนั้นมันค่อนข้างตรงและเหนื่อยง่าย จนส่งผลต่อความเครียดของเรา บางครั้งอาจไปกระทบชีวิตประจำวันหรือการทำงานของเราเลยทีเดียว ฉะนั้นแล้วเพื่อนๆ ชาวซิสอย่าลืมเช็กตัวเองกันด้วยนะคะ เพราะถ้าเราละเลยมากเกินไปอาจจะทำให้ส่งผลร้ายแรงในอนาคตของเราได้ อย่างไรก็ต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วยหรือรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันด้วยน้า เราก็ด้วยเช่นกัน ><


บทความแนะนำ ที่ซิสต้องไม่พลาด





ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล


เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้