1. SistaCafe
  2. N-PO Generation เมื่อคนรุ่นใหม่หมดไฟในการใช้ชีวิต

โอ้ยย สู้ชีวิตจนท้อไปหมดแล้ว ~ ด้วยสภาพสังคมยุคนี้ที่ค่อนข้างกดดัน เร่งรีบ บางครั้งก็ทำให้เราสู้ชีวิตอย่างหนักจนเหนื่อยจนล้า ไม่ไหวทั้งร่างกายรวมไปถึงจิตใจ จนเกิด N-PO Generartion ยุคที่คนรุ่นใหม่เริ่มยอมแพ้กับการใช้ชีวิต สำหรับใครที่กำลังเกิดภาวะนี้อยู่เหมือนกัน ลองมาทำความเข้ากับเทรนด์ N-PO Generartion กันก่อน อาจจะช่วยให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักตัวเองมากขึ้น และรู้วิธีรับมือ เมื่อเจอกับภาวะหมดไฟในการใช้ชีวิตด้วย

N-PO Generation คืออะไร ?

N-PO Generation ( Numerous Giving-up Generation ) ยุคที่คนรุ่นใหม่ทิ้งหลายสิ่งหลายอย่างจนนับไม่ถ้วน แล้วเลือกที่จะใช้ชีวิตแบบไม่คาดหวังเป้าหมาย หรือความสำเร็จในชีวิต เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับคนเกาหลียุคใหม่ ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มช่วงอายุ 20-30 ปีในเกาหลีใต้ ซึ่งก่อนจะพัฒนามาเป็น N-PO Generation เคยมี Som-po Generation ( 3포세대 ) มาก่อน คือ การยอมแพ้ 3 ประการ ยอมแพ้ที่จะมีคนรัก ยอมแพ้ที่จะแต่งงาน และยอมแพ้ที่จะมีลูก

แต่ด้วยสถานการณ์สังคมที่ค่อนข้างบีบคั้นขึ้นเรื่อย ๆ การเงินในเกาหลีใต้เริ่มเลวร้ายลง ระบบทุนนิยมทำให้ชีวิตพลิกผัน ค่าครองชีพสูง หลายคนเริ่มกังวลว่ากำลังจะเรียนจบอย่างไร้อนาคต และเสี่ยงกลายเป็นพนักงานสัญญาจ้างที่มีรายได้ไม่คุ้มค่าจ้าง ทำให้ใช้ชีวิตยากขึ้นไปอีก จากการยอมแพ้ 3 ประการ ( 3포세대 ) เลยกลายเป็นการยอมแพ้แบบ N ( N포세대 ) ค่าในสมการ ที่แทนการยอมแพ้กับหลายสิ่งหลายอย่างแบบนับไม่ถ้วน


คนรุ่นใหม่ไม่สู้ชีวิตจริงไหม หรือจริงๆ แล้วเกิดจากสภาพสังคม ?

ทำความรู้จักกับ N-PO Generation ของคนเกาหลีใต้มาแล้ว จากที่ได้ไปหาข้อมูลมาก็พบว่าภาวะนี้ไม่ได้เกิดแค่เกาหลีใต้เท่านั้น แต่เกิดกับคนยุคใหม่ในหลาย ๆ ประเทศเลย อย่างที่ ญี่ปุ่น ก็มี ' Satori Generation ' เป็นชื่อเรียกกลุ่มคนที่ไม่อยากรวย เพราะมีนิสัยไม่ชอบความกดดัน และไม่อยากรับมือกับความผิดหวัง เน้นใช้ชีวิตไปเรื่อย ๆ มากกว่าตั้งเป้าหมายชีวิต

ส่วนที่จีนก็มีเทรนด์ที่เรียกว่า ' ป่ายล่าน ' (Bǎi làn) แปลว่า ' ปล่อยให้เน่าไป ' เทรนด์การใช้ชีวิตที่เกิดขึ้นจากกลุ่มคนจีนรุ่นใหม่ Gen Z ที่ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจและปัญหาทางสังคม เลยเลือกปล่อยวางความสำเร็จ หลีกหนีความกดดันจากสังคม ทำงานง่าย ๆ ไม่คาดหวังรายได้ที่สูง และปล่อยชีวิตทุกอย่างให้เป็นไปตามยถากรรม

นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยที่ชื่อว่า The Changing Face Of The Employees Generation Z And Their Perceptions Of Work และการสำรวจโดยนิตยสาร Forbes กล่าวว่า สภาพแวดล้อมทางสังคมมีความสำคัญมากกับ Generation Z เพราะคน Gen นี้จะให้ความสำคัญกับความสบายใจในการทำงานเป็นที่ตั้ง

รวมไปถึงในบทความจาก Today Bizview ยังได้มีการวิเคราะห์ไว้ว่า ทำไมคนรุ่นใหม่เริ่มหมดไฟในการใช้ชีวิต ขอใช้ชีวิตเรื่อยๆ ไม่ต้องการความสำเร็จ หรือร่ำรวย ซึ่งมาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น ค่านิยมต่อความสำเร็จที่บอกว่าอายุเท่านี้ต้องมีบ้าน มีรถ แต่งงาน ฯลฯ ทำให้หลงคิดว่าคนที่ประสบความสำเร็จคือเรื่องปกติ คนที่ไม่สำเร็จไม่ปกติ รวมไปถึงความขยัน อดทน แต่ไม่ได้การันตีผลลัพธ์ที่ดี และในเรื่องของค่าครองชีพสูง แต่รายไม่สูงตามด้วย

เห็นได้ว่าส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดเทรนด์ หรือภาวะที่คนรุ่นใหม่เลือกไม่สู้ชีวิต จากในหลาย ๆ ประเทศที่ได้พูดถึงเอาไว้ สิ่งหนึ่งที่คล้ายกันคือมีสภาพสังคมเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เริ่มยอมแพ้กับการใชีชิวตอยู่ด้วย ส่วนตัวเราเองก็รู้สึกเช่นเดียวกันว่า สภาพสังคมค่อนข้างมีผลต่อการใช้ชีวิต ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ปัญหาสังคมที่กดดัน รวมไปถึงสภาพแวดล้อม ปัญหาภัยพิบัติ โลกร้อน ฝุ่นควันต่าง ๆ ที่ดูเหมือนจะจัดการได้ยากในปัจจุบัน ชวนให้รู้สึกท้อ เพราะสู้ชีวิตแต่ชีวิตและสภาพแวดล้อมจะสู้กลับหนักมาก เลยมีส่วนทำให้ตัวเองเหนื่อยและหมดไฟกับการใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นด้วย


10 ทริคดูแลจิตใจยังไง ในวันที่ท้อกับชีวิต ?

จากสภาพสังคมที่กดดันทำให้ต้องประสบความสำเร็จ มองไปทางไหนใคร ๆ ก็ดูชีวิตดี จนรู้สึกท้อกับการใช้ชีวิตของตัวเอง ถ้าปล่อยเอาไว้คงไม่ดีแน่ เพราะความคิดเหล่านี้อาจจะมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ กลายเป็น Self-Esteem ต่ำ เริ่มรู้สึกด้อยค่าตัวเอง บทความนี้เลยเอาทริคดูแลจิตใจ ในวันที่ท้อกับชีวิตมาแบ่งปันเพื่อน ๆ กันด้วย


วิธีดูแลใจในวันที่ท้อ 1. รับรู้ถึงข้อดีของตัวเราเอง

เชื่อว่าทุกคนมีข้อดี หรือคุณลักษณะที่ดีของตัวเอง ลองสำรวจตัวเองว่าเรามีข้อดีอะไรบ้าง ฟังจากคนรอบข้างว่าพูดถึงเรายังไง เขาชอบนิสัยของเราในส่วนไหนบ้าง หรือจะลองทำแบบทดสอบบุคลิกภาพ อาจจะไม่ช่วยได้มากแต่ก็สามารถบ่งบอกคุณลักษณะหรือข้อดีให้เราเห็นได้ชัดเจนขึ้น และเมื่อเราได้รับรู้ถึงข้อดีของตัวเอง และก็ให้เรายอมรับข้อดีนั้น ๆ เอาไว้


ทริคดูแลใจในวันที่ท้อ 2. เห็นคุณค่าในสิ่งที่เรามีอยู่

ด้วยสภาพสังคมที่ค่อนข้างกดดัน และมีการแข่งขันสูง พอเปิดโซเชียลเข้าก็เห็นใคร ๆ เขามีชีวิตดี และอยากมีวาสนาแบบเขาบ้าง จนหลงลืมนึกถึงคุณค่าในสิ่งที่เรามีอยู่ ซึ่งคุณค่าของเราก็ไม่ได้อยู่ใกล้ตัว อาจจะเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน คุณค่าจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเรา เช่น สุขภาพที่ดี ร่างกายแข็งแรง กินได้ นอนหลับ การมีเพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก คนรอบตัวที่ปรารถนาดีกับเรา เป็นต้น ลองโฟกัสในจุดที่เรามีและทำให้เรามีความสุข อาจจะให้เราสบายใจยิ่งขึ้น


วิธีฮีลใจตัวเอง 3. รู้จักขอบคุณและให้อภัยตนเอง

อย่างที่ได้บอกไปว่าทุกต่างมีข้อดี รวมไปถึงข้อเสียของยตัวเอง สำหรับในข้อดีให้ยอมรับและนำมาเป็นจุดแข็งสร้างความมั่นใจกับเรา ส่วนไหนที่เป็นข้อเสียยอมรับ ปรับปรุง เพื่อให้ไม่ทำในแบบเดิมอีก เราไม่ได้เก่งไปทั้งหมด ต้องมีวันที่เรารู้สึกทำได้ไม่ดีอยู่บ้าง อยากให้เรารู้จักขอบคุณกับสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราพอทำได้ และให้อภัยตนเองอยู่เสมอ เพราะมนุษย์ทุกคนไม่ได้สมบูรณ์ทั้งหมด เราจึงต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ


การดูแลใจในวันที่ท้อ 4 คาดหวังการยอมรับจากคนอื่น ให้น้อยลง

ตามส่องโซเชียลหรือติดตามชีวิตคนอื่น ๆ แล้วก็รู้สึกว่าทำไมชีวิตเขาถึงดีจังเลย พอได้รับสิ่งเหล่านี้มาก ๆ ก็อาจจะมีบางครั้งที่ทำใหรู้สึกท้อใจในวาสนา Self-Doubt สงสัยถึงความสามารถของตัวเองในใจ และเริ่มลดทอนคุณค่าของตัวเองลง เลยอยากบอกทุกคนที่กำลังสตั้งคำถามกับความสามารถของตัวเองว่า เราไม่จำเป็นต้องทำตามคนอื่นเสมอไป และการที่เราแตกต่างจากค่านิยมของสังคม ถ้าไม่ได้ไปทำร้ายใคร ก็ไม่ได้ถือว่าร้ายแรงอะไรมากมาย และเราสามารถที่จะค่อย ๆ เติบโตในเส้นทางของตัวเองอย่างมีความสุขได้นะคะ


วิธีดูแลจิตใจตัวเอง 5 ไม่เอาตัวเองไปเรียบเทียบกับชีวิตของใคร

การไม่เอาตัวเองไปเรียบเทียบกับชีวิตของใคร เข้าใจเลยว่าจะทำให้ได้จริง ๆ น่ะยากอยู่นะ เพราะอย่างนั้นในขณะที่เรากำลังเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ก็ให้ทบทวนตัวเอง รวมถึงยอมรับกับตัวเองว่าเรากำลังมีความรู้สึกแบบนี้อยู่ พร้อมกับพยายามใช้ชีวิตให้ใจดีกับตัวเองเยอะ ๆ หรือแทนที่จะเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ลองเปลี่ยนเป็นเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับตัวเองในอดีตแทน ชมตัวเองว่าวันนี้เราก็ทำได้ดีกว่าเมื่อวาน หรือเราในตอนนี้ก็พัฒนาขึ้นมากกว่าแต่ก่อนนะ


ทริคฮีลใจในวันที่ท้อ 6 ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ในการใช้ชีวิต

การตั้งเป้าหมายที่ใหญ่เกินไป อาจจะทำให้เรารู้สึกว่าไปถึงได้ยาก และเริ่มรู้สึกท้อที่จะทำให้สำเร็จจนล้มเลิกไปก่อน ลองเปลี่ยนมาตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ในการใช้ชีวิต เช่น ตั้งเป้าหมายในการรักษาสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับให้เพียงพอ ตั้งเป้าหมายในการออมเงินในแต่ละเดือน ตั้งเป้าหมายการอ่านหนังสือให้จบกี่หน้าในแต่ละวัน เป็นต้น อาจจะช่วยให้เพิ่มความมั่นใจ และทำให้เราภูมิใจในตัวเองขึ้นด้วยเมื่อเราทำสำเร็จในสิ่งนั้น ๆ


วิธีดูแลสุขภาพจิตใจ 7 หาเวลาเพิ่มทักษะหรือคุณภาพชีวิต

เมื่อรู้สึกว่าชีวิตดี ๆ ของคนรอบข้างมีผลต่อจิตใจของเรามากเกินไป และเริ่มที่จะ Self-Doubt สงสัยในความสามารถของตัวเอง ลองเปลี่ยนจุดโฟกัสเอาความนอยทั้งหลาย มาเป็นการพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น อย่างการหาเวลาเพิ่มทักษา หรือคุณภาพชีวิต หรือเลือกเรียนในสิ่งที่เราชอบหรือกำลังสนใจ แล้วสามารถนำไปต่อยอดได้ เช่น เรียนภาษาเพิ่ม เรียนทำขนม หรือลงคอร์สทำกิจกรรมฮีลใจ วาดรูป ทำงานฝีมือ ปั้นเซรามิก ฯลฯ นอกจากช่วยให้จิตใจเราสงบผ่อนคลายลง ยังถือว่าได้สกีลดี ๆ ติดตัวมาใช้ต่อยอดได้ด้วย


ดูแลใจยังไง ในวันที่ท้อ 8 เว้นระยะห่างจากคน Toxic ที่ฉุดรั้งเราไว้

ว่ากันว่าการเอาตัวเองไปอยู่กับคน หรือในสภาพแวดล้อมแบบไหน เราก็จะซึมซับและกลายเป็นคนแบบนั้น ลองเอาตัวเองไปอยู่ในที่ที่มีความสุข หรืออยู่ในสังคมที่ให้กำลังใจ พร้อมที่จะช่วยเหลือผลักดันกันไปในทางที่ดี อาจจะช่วยให้เพื่อน ๆ ได้พัฒนาทั้งจิตใจ และได้พัฒนาทักษะ รวมถึงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ด้วย


วิธีให้กำลังใจตัวเอง 9 ลองคิดบวก และมองโลกความจริงในแง่ดี

นอกจากการพาตัวเองไปเจอกับสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อใจ ลองกลับมาทบทวนพูดคุยกับตัวเองภายในจิตใจ ปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ เลี่ยงความคิด Toxic ที่ไม่เป็นผลดีต่อตัวเองและคนอื่น เปลี่ยนมุมมองโลกความจริงในแง่ดีมากยิ่งขึ้น เมื่อเจอกับอุปสรรคอย่าเพิ่งคิดว่าเราจะทำไม่ได้ ลองสูดหายใจเข้าลึก ๆ แล้วค่อย ๆ ตั้งสติ คิดว่าปัญหาที่เข้ามาคือประสบการณ์และบทเรียน ทำให้เราเป็นคนรอบรู้และมีประสบการณ์มากขึ้น และสามารถรับมือกับสถานการณ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ การคิดบวกนอกจากจะดีต่อสุขภาพจิตแล้ว อาจจะทำให้เราได้เจอกับแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ได้ด้วย


วิธีรับมือในวันที่ท้อ 10 ปล่อยวาง และผ่อนคลายความเครียด

การใช้ชีวิตในสังคมที่ค่อนข้างกดดัน อาจจะทำให้เรารู้สึกเครียด จนท้อในการใช้ชีวิตลงไป เลยอยากให้เพื่อน ๆ ใจดีกับตัวเอง ลองลดความจริงจังลง แล้วใช้ชีวิตให้สบาย ๆ มากขึ้น ปล่อยวางในสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แล้วเริ่มต้นใหม่ หรือคลายเครียดด้วยการทำกิจกรรมฮีลใจที่ชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง จดบันทึกระบายความในใจ ปลูกต้นไม้ กินของอร่อย ฯลฯ รวมไปถึงหัวเราะให้มาก ๆ เพื่อให้ร่างกายร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขเอนโดรฟินออกมาบ้าง



************************************************

สรุป

ทำความเข้าใจกับ N-PO Generartion มีเพื่อน ๆ คนไหนเกิดภาวะแบบนี้บ้างมั้ยเอ่ย? ถ้าเกิดว่ามีใครที่กำลังรู้สึกแบบนี้ ขอฝากกำลังใจไปให้แน่น ๆ เลยนะคะ ด้วยสภาพสังคมที่ค่อนข้างกดดันแบบนี้ อาจจะทำให้รู้สึกหมดไฟในการใช้ชีวิตได้ง่าย ๆ อย่างน้อย ๆ ลองหาอะไรทำฮีลใจ เพื่อให้รู้สึกสบายใจ ในแต่ละวัน อย่างเช่น งานอดิเรกที่ชอบ

หรือจะลองฟัง Podcast คลายเครียด อย่างเช่น Podcast ด้านล่างนี้ เป็น Podcast รายการ Readery ที่หยิบเอาหนังสือน่าสนใจมาแนะนำ ซึ่ง Podcast เป็นเล่ม " นี่เราใช้ชีวิตยากเกินไปหรือเปล่านะ " เป็นหนังสือที่ชวนตั้งคำถามว่า ‘เราทำงานไปทำไม และเรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไรกันแน่’ ผ่านการใช้ชีวิตของนักเขียนในเล่ม โดยทดลองว่าหากเลือกในสิ่งที่ตัวเองชอบเต็มที่ ผ่อนคลาย และไม่ยึดติดจนเกินไปจะเป็นอย่างไร ใครอยากรู้คำตอบ สามารถตามไปฟัง หรือหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านกันได้



ขอบคุณรูปภาพจาก istock, Netflix, TVN และข้อมูลอ้างอิงจาก LINE TODAY, CREATIVE TALK, iSTRONG


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้

🔮 ดูดวงกับ SistaCafe ผ่าน Line Official !
รูปภาพสำหรับป๊อปอัพลอย:1