สาเหตุหลักของการเสียชีวิตและความพิการทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหนึ่งในนั้นคือโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรค Stroke เป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนไม่ควรมองข้ามโดยเฉพาะกับคนใกล้ตัวหรือผู้ใหญ่ในบ้าน เพราะโรคนี้ค่อนข้างอันตรายหากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการที่เราทำความรู้จักกับโรคนี้เพื่อเป็นการรับมือเบื้องต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ เพราะจะสามารถช่วยให้ลดความเสียหายและภาวะแทรกซ้อนได้เป็นอย่างมาก ฉะนั้นในบทความวันนี้เราจะมาชวนทำความรู้จักกับ Stroke คืออะไร เกิดขึ้นจากอะไร และมีวิธีสังเกตอาการอย่างไร ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ไปดูกันเลย!
✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿
Stroke โรคนี้คืออะไร ?

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ ‘Stroke’ ที่เรารู้จักคือ ภาวะสมองขาดเลือดที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบอุดตัน หรือมีเลือดออกในสมอง ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ เซลล์สมองจึงขาดออกซิเจนจึงส่งให้สมองตายในที่สุด หากเกิดภาวะสมองขาดเลือดจำเป็นจะต้องรีบส่งแพทย์ให้เร็วที่สุดและทันทีเพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะความรุนแรงและระยะเวลาตั้งแต่มีอาการมีผลจำนวนต่อเซลล์สมองที่ตาย อาจจะเกิดภาวะทุพพลภาพ พิการ หรือเสียชีวิตได้ แต่หากได้รับการรักษาอย่างรีบด่วนสามารถช่วยลดความรุนแรงจากภาวะสมองตาย และรวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ และยังป้องกันความพิการ และทุพพลภาพที่เกิดขึ้นอีกด้วย
10 ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือด

โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
1.โรคหลอดเลือดสมองตีบ กับหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic Stroke) และ
2.โรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) ซึ่งทั้งสองประเภทมีสาเหตุสำคัญจากปัจจัยหลักๆ 10 ประการคือ
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง
- เป็นโรคเบาหวาน
- เป็นโรคไขมันในเลือดสูง
- เป็นโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคลิ้นหัวใจติดเชื้อ
- เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่ต่อเนื่อง
- เป็นโรคอ้วน
- เป็นผู้ที่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
- เป็นผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- เป็นผู้ใช้สารเสพติดยาหรือสารกระตุ้น
นอกจากนี้ยังมีโรคบางอย่างรวมถึงความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ที่ทำให้อัตราเสี่ยงในการเกิดโรคเลือดสมองเพิ่มขึ้นได้ด้วย เช่น
- โรคหลอดเลือดแดงที่คอตีบ (Severe carotid or vertebral stenosis)
- ภาวะเลือดแดงหรือเกล็ดเลือดผิดปกติ (Polycythemia vera or Essential thrombocytosis)
- ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (Thrombophilia)
- โรคหลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด เช่น โรค Moyamoya, Cerebral autosomal dominant and subcortical lenkoencephalopathy (CADASIL)
- มีการเซาะตัวจากผนังหลอดเลือดไปเลี้ยงสมอง (carotid or cerebral artery dissection)
✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿
วิธีสังเกตอาการโรคหลอดเลือดสมอง

ลักษณะอาการของ stroke หรืออาการโรคโรคหลอดเลือดสมอง สามารถสังเกตลักษณะอาการมีความสำคัญมากควรสังเกตและตรวจเช็กอาการหากตัวเองหรือคนใกล้ชิด มีอาการดังต่อไปนี้
- พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือไม่สามารถเข้าใจคำพูดของคนอื่น จะรู้สึกสับสน มึนงง พูดไม่ชัด หรือมีปัญหาในการทำความเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูด
- อาการอ่อนแรง (อัมพฤกษ์/อัมพาต) หรือชาบริเวณหน้า แขน ขา จะเกิดอาการอ่อนแรง หรือชาอย่างเฉียบพลันบริเวณหน้า แขน หรือขา โดยส่วนใหญ่แล้วอาการจะเกิดกับร่างกายแค่ด้านเดียวร่วมกับอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือพูดไม่ได้
- ปัญหาด้านการมองเห็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง จะเกิดอาการตามัวแบบเฉียบพลันหรือเห็นภาพซ้อน
- เวียนศีรษะ นานมากกว่า 5 นาที และปวดศีรษะ อาการรุนแรงแบบเฉียบพลันมักจะพบร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ปัญหาด้านการเดินเซ การทรงตัวผิดปกติ หรือซึมลง (Altered Consciousness) มึนศรีษะ อาการคลื่นไส้อาเจียน
**หากพบว่าคนใกล้ชิด หรือผู้ใหญ่ในบ้านมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองหรือ Stroke ตามอาการที่ได้พูดมา ให้รีบนำส่งตัวที่โรงพยาบาลที่มีประสาทแพทย์เฉพาะโรคเลือดสมองโดยเร็วที่สุด เพราะเมื่อมีอาการโรคหลอดเลือดสมองต้องได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด หรือได้รับการผ่าตัดภายในเวลา 4.5 ชั่วโมงแรก (270 นาที) หลังจากเริ่มมีอาการ เพราะยิ่งปล่อยไว้นานยิ่งเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตมากขึ้น
✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿
มาทำความรู้จักหลัก BEFAST

BEFAST เป็นเทคนิคที่ช่วยให้จดจำอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองได้ง่าย และครบถ้วน การรู้จักอาการและส่งโรงพยาบาลได้รวดเร็วจะเพิ่มโอกาสในการฟื้นตัวและลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนได้
- B -Balance (การทรงตัว)
อาจมีอาการสูญเสียการทรงตัว รู้สึกเวียนศรีษะหรือเกิดเดินเซอย่างกระทันหัน
- E - Eyes (การมองเห็น)
เกิดปัญหาในการมองเห็น เช่น ภาพซ้อน มองไม่ชัด หรือตามัวในตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง
- F - Face (ใบหน้า)
ใบหน้าเบี้ยว มุมปากตก สังเกตได้จากการให้ยิ้ม มุมปากจะยกไม่เท่ากัน
- A - Arms (แขน)
แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งมีอาการอ่อนแรง หรือยกไม่ขึ้น แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งมีอาการชาขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน
- S - Speech (การพูด)
พูดไม่ชัด พูดติดขัด หรือไม่สามารถพูดได้ รวมถึงอาจไม่เข้าใจสิ่งที่คนรอบข้างพูด
- T - Time (เวลา)
เวลาเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด หากพบอาการข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันต้องรีบนำตัวไปส่งโรงพยาบาลทันที เพราะทุกนาทีที่ล่าช้าสมองอาจได้รับความเสียหายอย่างถาวร
✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿
รวมเบอร์สายด่วน สามารถติดต่อได้จริง 24 ชั่วโมง

- 1669 สายด่วนการแพทย์ฉุกเฉิน
- 1646 สายด่วนกู้ชีพฉุกเฉิน กทม. (ศูนย์เอราวัณ)
**ใครที่อยู่ต่างจังหวัดอาจจะเกิดปัญหาหลายอย่าง แนะนำให้มีเบอร์สำรองไม่ว่าจะเป็น อบต เพื่อสอบถามว่ามีรถกู้ชีพไหม เบอร์มูลนิธิกู้ภัย/กู้ชีพ หรืออาจจะมีการขอเบอร์โรงพยาบาลโดยตรง เพราะต่างจังหวัดเบอร์ 1669 อาจจะมีความล่าช้าหรือมีปัญหาในการรับผู้ป่วย ดังนั้นการมีเบอร์สำรองไว้เป็นเรื่องจำเป็นมากๆ
✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿
สรุป
Stroke โรคใกล้ตัวที่มักพบในคนใกล้ตัว ตัวเราเอง หรืออาจจะเป็นผู้ใหญ่ที่บ้าน โรคนี้ถือเป็นโรคที่อันตรายเสี่ยงต่อการเกิดการพิการและเสียชีวิตในที่สุดได้ การนำหลักการ “BEFAST” เพื่อสังเกตอาการเบื้องต้นเป็นสิ่งที่เราต้องพยายามจำโดยเฉพาะใครที่มีผู้สูงอายุในบ้าน หรือใครที่มีโรคที่เสี่ยงหรือมีอาการเสี่ยงเพราะเรียกได้ว่าทุกนาทีมีค่าจริงๆ เพราะเมื่อพบมีอาการดังกล่าวที่ได้บอกไว้ การนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลภายในเวลา 4.5 ชั่วโมงแรกหรือ 270 นาทีหลังเกิดอาการจะสามารถมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีและลดความเสียหายต่อสมอง แผนการรักษาที่เร็วไม่เพียงช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนแต่ยังช่วยลดความเสี่ยงของการพิการได้อีกด้วย ดังนั้นนอกจากอาการที่เรามั่นสังเกตคนใกล้ตัวและการมีเบอร์โทรฉุกเฉินไว้ก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะคนต่างจังหวัดการมีเบอร์สำรองถือเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นได้
ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : MEDPARKHOSPITAL, พญาไท, PHYATHAI และรูปภาพประกอบจาก canva
บทความอื่นๆ ที่แนะนำ

โรคหลอดเลือดสมอง ภัยร้ายใกล้ตัว | บทความของ SistaCafe PR | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7-id-21202

เช็กกันหน่อยดีไหม? เรามีอาการ " Brain Fog " (ภาวะสมองล้า) หรือเปล่านะ | บทความของ Yoong Peskyy | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/94482

รวม 5 อาหารตัวร้ายทำลายสมอง พร้อมกับ 5 กิจกรรมช่วยฝึกสมอง ✨ ไม่อยากอ๊อง มาส่องด่วน! | บทความของ chollychon | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1-5-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-5-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9D%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B9%8A%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99--id=92031

อายุเริ่มมาก ต้องหาทานกันหน่อย ! รวม 7 อาหารบำรุงสมอง เสริมความจำ | บทความของ belfry | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2-%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1-7-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B3-id=88198

อาหารเสริม บำรุงสมอง 2024 วิตามินบำรุง อาหารสมองที่ทุกวัยทานได้ | บทความของ SIS GURU | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/94880