1. SistaCafe
  2. Mpox เตรียมตัวพร้อมรับมือ ฝีดาษลิง โรคที่กลับมาระบาดหนักอีกครั้ง!

เหตุการณ์ที่สะเทือนยังไม่หายไปอย่างโควิด-19 ก็มาพบกับสิ่งที่น่าสะเทือนใจมากกว่าอย่าง Monkeypox หรือ โรคฝีดาษลิง ที่เป็นโรคที่เคยเกิดขึ้นจนทำให้เกิดเหตุการณ์ที่น่ากลัวมาแล้วในประเทศไทย เพราะโรคนี้นั้นอย่างที่ทุกคนทราบข้อมูลเบื้องต้นคือแพร่เชื้อ และติดต่อกันง่าย แถมยังเป็นแล้วสามารถเสียชีวิตอีกด้วย ซึ่งในปี 2024 ก็ได้กลับมาเพราะมีการพบผู้ติดเชื้อรายแรกในประเทศ เรียกได้ว่าเสียขวัญกันสุดๆ ซึ่งโรคนี้แน่นอนว่ามีทางรักษาและป้องกัน เพราะเป็นโรคเก่าที่เคยระบาดเมื่อก่อน จนทำให้ตอนนี้มีวัคซีนหรือตัวยาสำหรับโรคmpox

และยิ่งเมื่อใครที่เคยอยู่เหตุการณ์เมื่อช่วงเริ่มระบาดใหม่ๆ เมื่อก่อน ก็จะได้รับตัววัคซีนนี้อยู่ภายในร่างกาย ซึ่งแน่นอนว่าคนที่เคยฉีดวัคซีนนี้มักจะมีอายุ 40+ เป็นต้นไป และประสิทธิภาพของวัคซีนก็สามารถอยู่ได้อย่างยาวนานหรือหลายปีเลยทีเดียว แต่สำหรับคนที่เกิดหลังปี 2523 หรือหลัง 40+ ก็มีสิทธิที่สามารถได้รับเชื้อได้ง่ายเมื่ออยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อ ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้ตอนนี้คือการป้องกันและหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุดเพื่อเป็นการรับมือ เพื่อให้ทุกคนสามารถป้องกันตัวเองได้ เราจึงมาบอกถึงข้อมูลที่เจาะลึกลงไปสำหรับ Mpox นี้ว่ามีอาการ การป้องกันอย่างไร รวมถึงชนิดและพิกัดฉีดวัคซีนกัน



✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿


Mpox หรือ โรคฝีดาษลิง คืออะไร?

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F202407%2F2b8d4c65-1be5-462a-98a7-9c8b4c5dd80c?v=20240901110854

โรคไข้ฝีดาษลิง หรือไข้ทรพิษ (Monkeypox) เกิดจากเชื้อไวรัส Othopoxvirus ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับไวรัสโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) ซึ่งสามารถพบได้ในสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ อย่างเช่น หนู กระรอก กระแต เป็นต้น ซึ่งมีการค้นพบโรคนี้ครั้งแรกคือการได้รับเชื้อมาโดยบังเอิญ และจากการรายงานที่พบโรคนี้ครั้งแรกเกิดจากลิงในห้องทดลอง จึงเป็นที่มาของชื่อ “โรคฝีดาษลิง (Mpox)”

โดยต้นกำเนิดของโรคฝีดาษลิงนั้นพบว่ามีแพร่ระบาดทั่วไปในทวีปแอฟริกา จนกลายเป็นโรคประจำถิ่น และยังพบอัตราการเสียชีวิตเมื่อมีการติดต่อโรคถึง 1-10% แต่ขึ้นอยู่กับบางสายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์หลักๆ ของฝีดาษลิงนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 สายคือ

📌 สายพันธุ์ Congo Basin มีอาการรุนแรงกว่า และพบอัตราการเสียชีวิต 10%

📌 สายพันธุ์ Weat Africa มีอาการไม่รุนแรง และพบอัตราการเสียชีวิต 1%

ฝีดาษลิงต่างจากไข้ทรพิษอย่างไร?

โรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ (Smallpox) จัดเป็นกลุ่มโรคไข้ออกผื่น ซึ่งสามารถเป็นได้นานถึง 2-4 สัปดาห์ เช่นเดียวกับไข้ฝีดาษลิง แม้ว่าจะเป็นกลุ่มไวรัส Othopoxvirus เดียวกัน แต่จัดเป็นคนละชนิดกัน โดยลักษณะการติดต่อและความรุนแรงของโรคนั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน

เชื้อไวรัสของโรคไข้ทรพิษนั้นจะอยู่ที่คนเป็นหลัก โดยจะมี การติดต่อจากคนสู่คนเท่านั้น โดยติดต่อผ่านการหายใจสาโดยผ่านละอองฝอยเล็กๆ ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้อย่างเป็นวงกว้าง และยังพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นไข้ทรพิษนั้นอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 30% ต่างจากไข้ฝีดาษลิง ที่ติดต่อกันผ่านการสัมผัส (Contact) และยังได้มีหลักฐานหลักฐานยืนยันว่าโรคไข้ทรพิษนั้นเป็นโรคที่มีการแพร่ระบาดมาอย่างยาวนานมากกว่า 1000 ปี แต่ในปัจจุบันนั้นไม่พบผู้ป่วยโรคไข้ทรพิษแล้ว เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษในประเทศไทย และได้หยุดการยุติการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษตั้งแต่ปี 2019 และปัจจุบันก็ได้มีการเก็บตัวอย่างเชื้อไข้ทรพิษไว้ เพื่อใช้สำหรับการศึกษาวิจัยเพียงเท่านั้น

ฝีดาษลิง โรคระบาดใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม!

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F202407%2Faf4a32db-d948-4a76-9d5e-b147e28ef9de?v=20240901111114

ในปี 2024 กรมควบคุมโรคของไทยยืนยันว่า พบผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษลิงสายพันธุ์ Clade 1b (เคลด 1 บี) รายแรกในไทย ซึ่งเป็นผู้เดินทางมาจากแอฟริกา โดยในวันที่ 21 สิงหาคม นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิการกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการแถลงข่าวที่สร้างความตระหนักต่อโลก เพราะได้กล่าวถึงเกี่ยวกับผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิง สายพันธุ์ Clade 1b ในไทยรายแรก และก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลก (World Health Organisation) ได้ประกาศเกี่ยวกับโรคระบาดของโรคเอ็มพอกซ์ (Mpox) สายพันธุ์ Clade 1b หรือชื่อเดิมว่า “ฝีดาษลิง (Monkeypox)” ในบางพื้นที่ของทวีปแอฟริกา กลายมาเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ จนเป็นที่ตระหนักและเกิดความกังวลทั่วโลก ทั้งยังพบอีกว่าโรคติดต่อร้ายแรงชนิดนี้ได้คร่าชีวิตผู้คนอย่างน้อยไปแล้ว 450 ราย ในช่วงแรกของการระบาดในสาธารณรัฐประเทศไตรคองโก และกำลังมีการแพร่ระบาดไปยังบางส่วนของแอฟริกากลางและตะวันออก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ได้เกิดความกังวลว่าการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของสายพันธุ์ใหม่ในโลกนี้นั้น จะทำให้จะทำให้อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นกว่าเดิม (ขอบคุณข้อมูลจาก : BBC NEWS ไทย)

อาการโรคฝีดาษลิง มีอะไรบ้าง?

ระยะเวลาฝักตัวของโรคฝีดาษลิง จะใช้เวลาในการฝักตัวประมาณ 7-14 วัน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะมีการแสดงอาการต่างๆ ดังนี้

  • มีไข้ และไข้ขึ้นสูง
  • ปวดตัว ปวดกล้ามเนื้อ และปวดหลัง
  • ปวดกระบอกตา
  • ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย

อาการต่อมน้ำเหลืองโต ถือเป็นจุดเด่นที่สามารถสังเกตได้สำหรับโรคฝีดาษลิง เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ตามจุดต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะจุดที่ไปสัมผัสโรคตามผิวหนัง เช่น คอ ไหปลาร้า ข้อศอก รักแร้ เป็นต้น หรือผ่านทางเยื่อบุทางเดินหายใจจากการพูดคุย สัมผัสใกล้ชิด การจูบ เป็นต้น ซึ่งอาการต่อมน้ำเหลืองโตนี้จะเป็นอาการที่แตกต่างจากโรคไข้สุกใส (Chickenpox) ที่เป็นโรคไข้ออกผื่นลักษณะเดียวกัน ที่มีผื่นและตุ่มหนองคล้ายกันนั่นเอง

หลังจากที่มีไข้มาประมาณ 3 วัน จะเข้าสู่ช่วงระยะออกผื่น โดยลักษณะผื่นของโรคฝีดาษลิงจะกินเวลานานประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดยผื่นจะขึ้นที่บริเวณใบหน้า แขน และขา มากกว่าที่ลำตัว ซึ่งลักษณะของผื่นนั้นจะเริ่มจากจุดแดงๆ กลมๆ หลังจากนั้นผื่นก็จะกลายเป็นตุ่มน้ำใส และกลายเป็นตุ่มหนอง สุดท้ายก็จะกลายเป็นสะเก็ดในเวลาต่อมา ซึ่งในช่วงที่ผืนเป็นตุ่มน้ำใสและตุ่มหนองนั้น เป็นช่วงระยะเวลาที่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้สูงมากๆ แต่หากผื่นเริ่มตกสะเก็ดแล้วก็จะถือว่าพ้นช่วงระยะเวลาของการแพร่เชื้อของโรคฝีดาษลิง เพราะถือว่าเชื้อได้กินลึกถึงชั้นผิวหนังด้านในแล้ว จึงทำให้หลังจากผื่นตกสะเก็ดไม่ทำให้เกิดรอยโรค หรือรอยแผลเป็นได้

วิธีป้องกันเอ็มพ็อกซ์ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F202407%2Fa252e5ef-3831-46e7-b258-10eb4b31cc99?v=20240901111345
  • หลีกเลี่ยง หรือพยายามออกห่างจากผู้ติดเชื้อ หรือผู้ที่สงสัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมไปถึงบุคคลที่อาจจะมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยมา
  • ห้ามสัมผัส ผื่น ตุ่ม หนอง ของผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อ
  • เชื้อไวรัสฝีดาษลิง เป็นเชื้อที่มีโปรตีนหุ้มซึ่งสามารถถูกทำลายได้ด้วยแอลกอฮอล์ ดังนั้นจึงควรหมั่นล้างมือบ่อยๆ และพยายามใช้แอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป
  • พยายามส่วนหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีผู้คนจำนวนมาก เช่น รถไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่

การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์และสวมหน้ากากอนามัย ถือเป็นการป้องกันตัวเองเบื้องต้นที่ดีที่สุด เพราะสามารถช่วยป้องกันได้ทั้ง 3 โรคที่เสี่ยงติดต่อได้ง่าย ได้แก่ โรคฝีดาษลิง โรคโควิด-19 และโรคไข้หวัดใหญ่ นั่นเอง และใครที่ต้องเผชิญการพบเจอผู้คนในสถานที่แออัดและมีการระบายอากาศที่ไม่เพียงพอ ต้องอย่าลืมการสวมหน้ากากอนามัยเด็ดขาด


✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿

ชนิดของวัคซีน Mpox

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F202407%2F7022bb24-72e1-4794-bbe6-f928ffe1bb5f?v=20240901111517

วัคซีนที่มีในปัจจุบันนี้มีชื่อว่า JYNNEOS เป็นการฉีดทั้งหมด 2 เข็มโดย 2 เข็มนั้นจะมีระยะห่าง 28 วัน สำหรับคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งการฉีดวัคซีน JYNNEOS ในการป้องกัน Mpox นั้นจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ

  • ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous) หรือที่หลังแขน ขนาดเต็มโดส 0.5 ml
  • ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (Intradermal) หรือบริเวณท้องแขน ขนาด 0.1 ml

ซึ่งการฉีดวัคซีนตัวนี้นั้นจะเริ่มมีภูมิต้านทางเมื่อฉีดเข็มที่ 2 ผ่านไป 2 อาทิตย์ ซึ่งหมายความว่าเราต้องฉีดวัคซีนตามกำหนด และจะเริ่มนับตั้งแต่ฉีดเข็ม 2 ไปประมาณเดือนครึ่งร่างกายถึงจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา แต่ในระหว่างก่อนนั้นจะยังไม่มีภูมิต้านทาน

โดยเราสามารถใช้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิง(Mpox) ได้ที่ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทยที่คลินิกนิรนาม โดยผู้ที่สนใจนั้นสามารถลงทะเบียนฉีดวัคซีนได้ทาง LINE : @091AOJEX จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อเพื่อทำการ แจ้งนัดวันและเวลาเข้ารับบริการ ซึ่งสามารถใช้บริการฉีดวัคซีนในวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.30 ถึง 11.00 น.และ 13.00-15:00 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) โดยค่าใช้จ่ายนั้นจะแตกต่างกัน ดังนี้

  • ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous) ราคาเข็มละ 8,500 บาท สามารถ walk in ได้ในวันเวลาราชการ
  • ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (Intradermal) ราคาจุดละ 2,200 บาท เปิดรับเฉพาะวันพฤหัสเท่านั้น หรือสำหรับคนที่ลงทะเบียนผ่านไลน์

ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนMpox

  1. วัคซีนที่ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง(Subcutaneous) หรือฉีดเข้าตรงหลังแขน ซึ่งเป็นการฉีดเข้าใต้ชั้นไขมันจึงมีอาการที่เรียกว่า Systemic โดยลักษณะการแสดงอาการนั้นคือมีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย บางคนอาจจะเป็นกรดไหลย้อนขึ้นมาก็เป็นได้ ดังนั้นหากใครที่จะไปฉีดแบบ Subcutaneous สามารถกินยาก่อนไปฉีดหรือกินยาดักไว้ก่อนได้ นอกจากนี้มักจะมีอาการแทรกซ้อนเข้ามาอีกอาการหนึ่งหรือที่เรียกว่า Local อาการมักจะเป็นอาการคัน บวมแดง และเจ็บบริเวณที่ฉีด
  2. ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (Intradermal) มักจะมีอาการพวกนี้เยอะกว่า คล้ายกับกรณีของการฉีดวัคซีนโควิด คือบางคนฉีดแล้วมีสีของผิวหนังที่เปลี่ยนแปลง อาจจะเข้มขึ้นบริเวณที่ฉีดและจะอยู่ประมาณอาทิตย์ และอาจจะติดต่อกันเดือนได้ แต่ไม่ได้รับอันตรายอะไร สามารถจางหายไปเอง

กลุ่มไหนบ้างที่ควรฉีดวัคซีนฝีดาษลิง?

คนที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคฝีดาษลิง หรือกลุ่มเสี่ยงมีดังนี้ กลุ่มชายรักชาย คนที่มีคู่นอนมากกว่า 1 คน หรือกลุ่มคนที่เคยติดเชื้อในเพศสัมพันธ์มาก่อน 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มเหล่านี้จะมีความสูงมากกว่าปกติ หรือคนที่รู้ว่าคู่นอนตัวเองไปมีคู่นอนหลายคนด้วย กลุ่มเหล่านี้จะต้องได้รับการฉีดวัคซีน JYNNEOS หรือเรียกว่า LIVE-attenuated vaccine ที่ไม่สามารถแบ่งตัวได้ LIVE-attenuated หรือหมายความว่าเชื้อตัวนี้ยังไม่ตายแต่มันถูกทำให้ไม่สามารถแบ่งตัวได้ ดังนั้นมันจะปลอดภัยสำหรับในคนที่ฉีดวัคซีน และคนที่มีภูมิต้านทานบกพร่องไม่ต้องกลัวว่าจะกลายเป็นโรคฝีดาษลิงจากการฉีดฉีดวัคซีนอีกด้วย เพราะคนท้องก็สามารถฉีดได้เช่นเดียวกัน เพราะในรายงานของทางแอฟริกาคนท้องถ้าเป็นฝีดาษลิงสามารถส่งเชื้อฝีดาษลิงไปให้ลูกในครรภ์ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นถ้าใครที่มีความเสี่ยงมากๆ อาจจะต้องฉีดวัคซีนพวกนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคฝีดาษลิงเกิดการส่งต่อไปในครรภ์

คนที่เคยปลูกฝี สามารถป้องกันฝีดาษลิงได้หรือไม่?

คนที่เคยปลูกฝีนั้นเอาไว้ป้องกันไข้ทรพิษหรือไข้ฝีดาษที่เรียกว่า Smallpox หรือ Vaccine ก่อนปี 2005 ซึ่งใครที่เกิดก่อนปี 2023 จะจัดอยู่ในกลุ่มคนเคยปลูกฝีมาแล้ว แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะอาจจะมีบางคนที่ไม่ได้รับการเข้าฉีดวัคซีน หลายคนอาจจะสงสัยว่าลักษณะของคนที่ได้รับการปลูกฝีเป็นอย่างไร ต้องบอกเลยว่าในประเทศไทยจะมีการฉีดวัคซีนอยู่ 2 อย่าง ซึ่งมีหน้าตาคล้ายกันมากโดยที่อย่างแรกคือ “ฝีดาษ” ที่เรียกว่าการ “ปลูกฝี” และอย่างที่สองคือ วัคซีนวัณโรค BCG ซึ่งลักษณะแผลเป็นทั้งสองอย่างนี้จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน แต่จะมีความแตกต่างกันคือ ถ้าใครที่เกิดก่อนปี 2523 คือกลุ่มคนที่ได้รับการปลูกฝี แต่สำหรับบางคนที่เกิดหลังจากนั้นก็อาจจะมีโอกาสได้รับการปลูกฝีเช่นเดียวกัน แต่ขึ้นอยู่กับบางพื้นที่

โดยเราสามารถสังเกตแผลที่เกิดจากวัคซีนฝีดาษ หรือคนที่เคยปลูกฝีจะมีลักษณะคือ เป็นกลมรี และมีความใหญ่ประมาณ 1.5 ซม. ตรงกลางจะเป็นเนื้อโล่งๆ แล้วเหมือนมีรังสีแพร่ไปรอบๆ ซึ่งในวงกลมตรงกลางจะไม่มีอะไร แต่จะมีความเป็นแฉกๆ เหมือนกับแฉกรังสีออกมา เป็นลักษณะของคนที่เคยปลูกฝี

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F202407%2Fa968856b-10ad-4734-973c-5dee814e62f2?v=20240901112046

แต่ถ้าเป็นลักษณะของการฉีดวัคซีนวัณโรค BCG รอยมักจะเล็กกว่า ส่วนใหญ่ประมาณ 0.5 เซนติเมตร ตัวแผลเป็นวัณโรคนี้จะไม่มีการบุ๋มลงไปหรือนูนขึ้นมา แต่ของฝีดาษนั้นจะมีความหลุมลงไปและตรงกลางจะเรียบนิดๆ และมีแฉก ทั้งหมดนี้จึงเป็นลักษณะสังเกตเบื้องต้นของความแตกต่างระหว่างการปลูกฝีและการฉีดวัคซีนวัณโรค


สรุป โรคฝีดาษลิง ควรรับมืออย่างไร สามารถป้องกันโรคได้หรือไม่?

มีการรายงานจากคนที่เคยอยู่ในช่วงระบาดครั้งแรกว่าคนที่เคยได้รับการปลูกฝีดาษนั้นสามารถรับเชื้อได้ แต่จะมีอาการน้อย เพราะมีการป้องกันอยู่ที่ 85% แต่ในปัจจุบันการรายงานของ CDC ว่ามีการระบาดที่แตกต่างจากเดิม เพราะไม่ใช่สายพันธุ์ Clade 2 แต่เป็นสายพันธุ์ Clade 1 ที่มีความรุนแรงมากกว่า ดังนั้นเปอร์เซ็นต์ในการป้องกันอาจจะไม่ใช่ 85% เพราะด้วยความรุนแรงของสายพันธุ์ แต่อาจจะไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ทั้งยังมีการวิจัยบอกอีกว่าวัคซีนไข้ทรพิษหรือฝีดาษนั้นสามารถอยู่ได้อย่างน้อย 92 ปี เรียกได้ว่านานมากๆ ซึ่งใครที่เคยฉีดหรือปลูกฝีมาก่อนจะมีแอนตี้บอดี้หรือภูมิต้านทานในร่างกาย และวัคซีนก็จะยังอยู่ไม่หายไปไหน ดังนั้นแล้วคนที่เคยปลูกฝีก็อาจมีโอกาสติดได้ เพราะด้วยสายพันธุ์ Clade 1 ที่รุนแรงมากกว่าเดิม ควรเพิ่มระดับการป้องกันให้มากขึ้นหรือการบูสต์วัคซีน JYNNEOS ตัวใหม่นี้ตามคำแนะนำ CDC


ขอบคุณข้อมูลจากช่อง Youtube : Doctor Tany

✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿

สรุป

กลุ่มที่ควรฉีดแน่ๆ คือกลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์รักร่วมเพศ เช่น ชายรักชาย รวมไปถึงกลุ่ม Bisexual และกลุ่มคนที่มีเพศสัมพันธ์มากกว่า 1 คู่ กลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะติดโรคฝีดาษลิง(Mpox) และเป็นกลุ่มที่ควรมีการได้รับการฉีดวัคซีน JYNNEOS เพื่อเป็นการป้องกัน ซึ่งนอกจากนี้ในกลุ่มคนที่เกิดก่อนปี 2523 ที่ได้รับการปลูกฝีอาจจะมีเปอร์เซ็นต์ที่จะได้รับการติดต่อโรค Mpox สายพันธุ์ clade 1 ได้เช่นกัน แต่อาการนั้นจะไม่รุนแรงมาก เพราะด้วยสายพันธุ์นี้ค่อนข้างมีความรุนแรงมากกว่า clade 2 ที่มีการระบาดมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว และตามคำแนะนำของ CDC คนที่เคยปลูกฝีก็สามารถเพิ่มการป้องกันด้วยการบูสต์วัคซีน JYNNEOS ตัวใหม่ตัวนี้เพื่อเพิ่มภูมิในร่างกาย และวัคซีน JYNNEOS นั้นหากใครที่ต้องการฉีดเพื่อรับการป้องกัน ต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ และมีค่าใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับคนที่ยังไม่มีงบและรอการรายงานผลดำเนินการของกรมควบคุมโรค และกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยอยู่ เราสามารถเลือกที่จะหลีกเลี่ยงได้โดยการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงกลุ่มเสี่ยง ก็ถือว่าเป็นการช่วยป้องกันในระดับหนึ่ง อีกทั้งอย่าลืมดูแลร่างกายให้แข็งแรงกันด้วย







บทความอื่นๆ ที่แนะนำ






เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้