1. SistaCafe
  2. คนชอบเคี้ยวน้ำแข็ง เช็กสัญญาณ! ติดกินของเย็นตลอดเวลา อาจเกิดอันตรายได้

“ กร๊อบ กร๊อบ กร๊อบ ” เสียงเคี้ยวน้ำแข็งที่สามารถดังได้ตลอดทั้งวันไม่มีเบื่อ และเพลิดเพลินจากเสียงและสัมผัสฟินๆ จากตัวเอง ซึ่งการชอบเคี้ยวน้ำแข็งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ชื่นชอบกัน ด้วยปัจจัยในเรื่องของอากาศที่ร้อนมากๆ ในประเทศ และลักษณะของน้ำแข็งที่ดูน่าเคี้ยว แต่ใครจะรู้ว่า คนชอบเคี้ยวน้ำแข็ง ที่เห็นน้ำแข็งแล้วเกิดอาการอยากเคี้ยวอยากกินนั้นจะเป็นโรคจิตวิทยาประเภทหนึ่ง อีกทั้งการเคี้ยวน้ำแข็งยังส่งผลเสียต่อร่างกายเราอีกด้วย ฉะนั้นเราต้องรู้เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามลดการเคี้ยวลง ณ ตอนนี้ด่วนๆ


‘’’’’ꕤ’’’’’’’’’’’’’’ꕤ’’’’’’’’’ꕤ


โรคติดน้ำแข็ง คืออะไร?

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F97011%2F5c0fcd68-d61e-41f0-b980-7c2ea590cba1.jpeg?v=20240306201745&ratio=1.000

ซึ่งคุณหมอผิง หรือ พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล ระบุว่า โรคติดน้ำแข็ง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรค Pagophagia เป็นภาษากรีกมาจากคำว่า  Pagos ที่แปลว่า น้ำแข็ง บวกกับ Phago ที่แปลว่า กิน ซึ่งเป็นอาการชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีนิสัยย้ำคิดย้ำทำกับการกินน้ำแข็งมากเกินไป โดยเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในช่วงวัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ปัจจุบันนี้ได้เลย ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจสุดๆ


อาการของคนเป็นโรคติดน้ำแข็ง


อาการของผู้ป่วยโรคติดน้ำแข็งมักจะบริโภคน้ำแข็งอยู่เป็นประจำ ชอบการเสพติดการเคี้ยวน้ำแข็งตลอดทั้งวัน จนไม่สามารถที่จะหยุดเคี้ยวได้หรือมีความอยากจะเคี้ยวน้ำแข็งอยู่ตลอดเวลานั่นเอง ซึ่งอาการอยากเคี้ยวน้ำแข็งมากกว่าการดื่มน้ำเย็นๆ ให้ชื่นใจตัวเองนั้น แม้จะเป็นเครื่องดื่มเย็นจัดๆ ก็ยังไม่สามารถทดแทนหรืออาจทำให้รู้สึกถึงพอใจได้ เพราะมีความรู้สึกว่าต้องหาน้ำแข็งมาเคี้ยวเสียงดังมากกว่า ส่วนใหญ่นั้นจะชอบเคี้ยวมากกว่าอมน้ำแข็งเฉยๆ ด้วย


อันตรายของโรคติดน้ำแข็ง


  • ฟันบิ่น หัก แตก หรืออาจฟันหลุดได้หากมีอาการกัดก้อนน้ำแข็งบ่อยๆ ตลอดเวลาที่มีโอกาส
  • เมื่อเสพติดการเคี้ยวน้ำแข็งบางคนอาจเคี้ยวเสียงดังอย่างไม่รู้ตัวหรือไม่สามารถที่จะควบคุมงตัวเองได้ จนทำให้ดูเป็นเรื่องเสียมารยาทบนโต๊ะอาหาร
  • นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์ ระบุว่า ผู้ที่ชอบเคี้ยวน้ำแข็งเป็นประจำอาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น ความเครียด พฤติกรรมย้ำคิด-ย้ำทำ พัฒนาการผิดปกติในวัยเด็ก เป็นต้น
  • นพ. สันต์ ใจยอดศิลป์ ระบุว่า อาการชอบกินน้ำแข็งเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดย 50% ของผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการชอบเคี้ยวน้ำแข็ง แต่นั้นไม่ใช่เหตุผลทั้งหมดอีกทั้งก็ไม่เสมอไปต้องมีเรื่องของการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเข้ามาด้วย
  • หากเลือกบริโภคน้ำแข็งที่ไม่สะอาดคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานก็อาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องร่วงหรือท้องเสีย บางครั้งอาจจะเป็นการติดพยาธิจากน้ำแข็งที่แช่อาหารสด รวมถึงสารพิษจากสารเคมีอื่นๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำแข็งที่ไม่สะอาดอีกด้วย

คนชอบเคี้ยวน้ำแข็ง เกี่ยวข้องกับโรคโลหิตจางจริงไหม?


การเคี้ยวหรือการทานน้ำแข็งเป็นจำนวนมากไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง แต่อาการชอบเคี้ยวน้ำแข็งเป็นหนึ่งในอาการของที่สามารถสังเกตได้ของโรคโลหิตจางจากการที่ร่างกายนั้นขาดธาตุเหล็ก


วิธีหยุดพฤติกรรมชอบเคี้ยวน้ำแข็ง


คนชอบเคี้ยวน้ำแข็ง วิธีที่ 1 อมน้ำแข็งแทนเคี้ยว

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F97011%2Fcc27cd8d-97b5-4a0b-831e-f0bd3e4b3972.jpeg?v=20240306201745&ratio=1.497

การอมน้ำแข็งแทนการเคี้ยวน้ำแข็งนั้น โดยการปล่อยให้น้ำแข็งละลายไปตามธรรมชาติ จะให้ความรู้สึกที่เย็นและสดชื่นมากกว่าแถมยังให้ความรู้สึกที่ยาวนานมากกว่าการเคี้ยว อีกทั้งไม่เป็นการทำลายสุขภาพของช่องปากอย่างเช่น ฟัน และเหงือก ที่สามารถเกิดการแตกหักและบวมได้จากการเคี้ยวด้วยนั่นเอง


เลิกเคี้ยวน้ำแข็ง วิธีที่ 2 เลือกชนิดน้ำแข็ง

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F97011%2Fe890c349-669b-4e82-a97c-49dd94a3e181.jpeg?v=20240306201745&ratio=1.383

การเปลี่ยนลักษณะของน้ำแข็งจากที่เป็นก้อนน้ำแข็งมาเป็นน้ำแข็งฝอย อย่างเช่น น้ำแข็งใส เป็นต้น ก็อาจจะช่วยได้ แม้ว่าอย่างไรก็ควรที่จะพยายามจำกัดหรือหลีกเลี่ยงน้ำแข็งที่ปรุงแต่งสำหรับการบริโภคใน 1 วัน ให้อย่างพอดี เพราะน้ำแข็งใสที่ผ่านการปรุงขึ้นมานั้นมีส่วนผสมของน้ำตาลมากซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพฟันและร่างกาย


วิธีปรับนิสัยเคี้ยวน้ำแข็ง ที่ 3 พยายามหยุดบริโภคน้ำแข็ง

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F97011%2F96b9b487-5ade-49ed-a90a-9aaec9df0217.jpeg?v=20240306201746&ratio=1.333

หากน้ำแข็งกลายมาเป็นสิ่งที่ล่อตาล่อใจ เชิญชวนไปเข้าไปเคี้ยวอีกครั้งนั้น ลองเลิกทานน้ำที่ใส่น้ำแข็งดูก่อนโดยเฉพาะการดื่มน้ำเปล่า เป็นเพราะว่าเพื่อการป้องกันความเสียหายต่อฟัน และหลีกเลี่ยงแบคทีเรียที่ตกค้างในเครื่องทำน้ำแข็ง ซึ่งเราจะเห็นได้บ่อยๆ โดยเฉพาะใครที่ชอบดื่มน้ำแล้วใส่น้ำแข็ง หลังจากที่น้ำแข็งละลายนั้นก็พบว่าในน้ำของเราดูมีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ดีเกิดขึ้นนั่นเอง


ทริคลดอาการติดน้ำแข็ง วิธีที่ 4 ทานสิ่งที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F97011%2F2ec31a57-8f1b-4863-b8ff-43b8bbb8c83f.jpeg?v=20240306201746&ratio=1.777

ลองหันมาทานผลไม้ที่มีประโยชน์และให้ความกรอบฉ่ำ อย่างเช่น แครอท ส้ม กีวี่ แอปเปิ้ลหันแว่น หรือผักและผลไม้ชนิดอื่นๆ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยตอบสนองความอยากที่จะเคี้ยวน้ำแข็งได้ อีกทั้งยังเป็นการไปกระตุ้นการไหลของน้ำลายเพื่อทำให้เป็นส่วนของการปกป้องปากของเราไปในตัวอีกด้วย


‘’’’’ꕤ’’’’’’’’’’’’’’ꕤ’’’’’’’’’ꕤ


เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับความรู้ที่ทั้งใหม่และเก่าของโรคติดน้ำแข็ง สำหรับ คนชอบเคี้ยวน้ำแข็ง ที่เป็นโรคทางจิตวิทยาประเภทหนึ่งที่คนเสพติดโรคนี้กันเยอะมากอย่างที่บอกว่าความร้อนก็เป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ชอบเคี้ยวน้ำแข็งเล่น แต่เพราะฤดูร้อนที่ยาวนานทำให้กลายมาเป็นว่าเคี้ยวเพลินสำหรับการเคี้ยวน้ำแข็งหนักมาก โดยเฉพาะหากเจอน้ำแข็งที่มีลักษณะเล็ก หรือเป็นฝอยๆ จะยิ่งรู้สึกอยากเคี้ยวมากกว่าเดิม แต่ถึงจะชอบการเคี้ยวน้ำแข็งมากแค่ไหนควรจะพิจารณาก่อนสำหรับนำมาเคี้ยวด้วย เพราะเรื่องของแบคทีเรียที่ตกค้างในเครื่องทำน้ำแข็งสำหรับโรงงานที่ไม่สะอาดนั่นเอง ต้องดูถึงความสะอาดของน้ำแข็งด้วยนะคะ



บทความแนะนำ ที่ซิสไม่ควรพลาด




เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้